บทที่ 5
โครงการพัฒนาอาชีพให้มีความเข้มแข็ง
โครงการพัฒนาอาชีพให้มีความเข้มแข็ง
สรุป
การวิเคราะห์โครงการ หมายถึง การศึกษาและวิเคราะห์โครงการลงทุนต่าง ๆ ทั้งภาครัฐและเอกชน เพื่อประโยชน์ในการนำมาประกอบการตัดสินใจลงทุน ว่าโครงการดังกล่าวก่อให้เกิดผลลัพธ์ มีความคุ้มค่าและเหมาะสมที่จะลงทุนหรือไม่ โดยจะมีการประเมินผลตอบแทนที่จะได้รับและต้นทุนค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ตลอดอายุของโครงการ การวิเคราะห์ความคุ้มค่า ของการลงทุนอาจทำการวิเคราะห์ได้ ๒ แนวทางหลัก คือ แนวทางแรก คือการวิเคราะห์โดยไม่ต้องปรับค่าเวลา เช่น ระยะคืนทุน และอัตราผลตอบแทนการลงทุน แต่แนวทางนี้ไม่เป็นที่นิยมนัก เนื่องจากไม่ได้คำนึงถึงมูลค่าของเงินที่เปลี่ยนแปลงไปตามเวลา แนวทางที่ ๒ คือการวิเคราะห์โดยคำนึงถึงค่าของเงินที่เปลี่ยนแปลงไปตามเวลา เช่น มูลค่าปัจจุบันสุทธิ อัตราส่วนผลประโยชน์ต่อต้นทุน และอัตราผลตอบแทนภายในโครงการ
โครงการพัฒนาอาชีพ หมายถึง กิจกรรมที่มุ่งผลิตผลิตภัณฑ์หรือการให้บริการให้สำเร็จลุล่วงภายในเวลาที่กำหนด
โครงการพัฒนาอาชีพ หมายถึง กิจกรรมที่มุ่งผลิตผลิตภัณฑ์หรือการให้บริการให้สำเร็จลุล่วงภายในเวลาที่กำหนด
ความสำคัญของโครงการพัฒนาอาชีพ จะช่วยให้ผู้ประกอบการ สามารถเลือกกิจกรรมพัฒนาอาชีพได้อย่างเหมาะสม ทั้งในด้านการจัดการใช้ทรัพยากรต่าง ๆ ที่มีอยู่อย่างเหมาะสมสมบูรณ์ที่สุด เพื่อให้การดำเนินงานโครงการบรรลุวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ ซึ่งทรัพยากรในที่นี้อาจหมายถึง บุคลากร เครื่องมือ เครื่องใช้ หรือสิ่งอำนายความสะดวกต่าง ๆ ตลอดถึงข้อมูลระบบงานเทคนิคเงินทุน และเวลา
แผน หมายถึง งานทุกด้านขององค์กรที่ถูกกำหนดขึ้นอย่างมีเหตุผล เป็นระเบียบวิธี หรือขั้นตอนที่เป็นระบบที่บุคลากรใช้เป็นคู่มือหรือแนวทางการดำเนินงานขององค์กร
การวิเคราะห์ หมายถึง การแยกแยะรายละเอียด ความเป็นไปได้แล้วสังเคราะห์ให้เห็นความสัมพันธ์และเกิดกิจกรรมที่มีเป้าหมายทิศทางไปสู่ความสำเร็จ
ประเภทของแผน แบ่งออกเป็น 3 ระยะ ดังนี้
1. แผนระยะยาว มีระยะเวลาตั้งแต่ 10-20 ปี
2. แผนระยะปานกลาง มีระยะเวลาตั้งแต่ 4-6 ปี
3. แผนระยะสั้น ใช้ระยะเวลาอันสั้นอยู่ที่องค์กรกำหนด
โครงการ หมายถึง แผนงานที่กำหนดไว้ในลักษณะที่มิใช่เป็นงานประจำแต่เป็นงานพิเศษที่มีความสำคัญซึ่งจะต้องเร่งดำเนินการให้บรรลุตามวัตถุประสงค์ภายในเวลาที่กำหนดและภายในวงเงินที่จำกัด
โครงการมีความสัมพันธ์กับการวางแผนงานเพื่อทำให้กิจการนั้นสำเร็จบรรลุตามวัตถุประสงค์ที่วางไว้ โครงการมีกระบวนการและขั้นตอนการดำเนินงานซึ่งประกอบด้วย การกำหนดวัตถุประสงค์การรวบรวมและการวิเคราะห์ข้อมูล การพิจารณาถึงปัญหาอุปสรรคและโอกาส เพื่อเลือกหาแนวทางการปฏิบัติที่เหมาะสม
ประโยชน์ของโครงการ จะช่วยให้ผู้ประกอบการเห็นถึงปัญหาและภูมิหลังของการทำงาน ช่วยให้เห็นถึงปัญหาและภูมิหลังของการทำงาน สามารถปฏิบัติงานตามแผนเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ มีความชัดเจน บุคคลที่เกี่ยวข้องมีความเข้าใจและรับรู้ถึงปัญหาร่วมกัน มีทรัพยากรใช้อย่างเพียงพอเหมาะสมกับสภาพปฏิบัติจริง มีผู้รับผิดชอบ และมีความเข้าใจในการดำเนินงาน ช่วยลดความขัดแย้งและขจัดความซ้ำซ้อนในงาน สร้างทัศนคติที่ดีต่อบุคลากรในหน่วยงาน
ลักษณะสำคัญของโครงการ
การเขียนโครงการ มีลักษณะการเขียนแตกต่างไปจากการเขียนประเภทอื่น ๆ โครงการที่ดีควรมีลักษณะดังต่อไปนี้
1. ต้องมีระบบ โครงการต้องประกอบด้วยส่วนต่าง ๆ ที่มีความสัมพันธ์เกี่ยวข้องเป็นกระบวนการถ้าส่วนใดเปลี่ยนแปลงไป จะเกิดการเปลี่ยนแปลงในส่วนอื่น ๆ ตามไปด้วย
2. ต้องมีวัตถุประสงค์ชัดเจน โครงการต้องกำหนดวัตถุประสงค์สอดคล้องกับความเป็นมาของโครงการมีความเป็นไปได้ชัดเจน และเป้าหมายของโครงการต้องประกอบด้วยเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ
3. ต้องเป็นการดำเนินงานอนาคต เนื่องจากการปฏิบัติงานที่ผ่านมามีข้อบกพร่อง และควรแก้ไขปรับปรุง โครงการจึงเป็นการดำเนินงานเพื่ออนาคต
4. เป็นการทำงานชั่วคราว โครงการเป็นการทำงานเฉพาะกิจเป็นคราว ๆ เพื่อแก้ไขปรับปรุงและพัฒนาไม่ใช่การทำงานที่เป็นการทำงานประจำ หรืองานปกติ
5. มีกำหนดระยะเวลาที่แน่นอน โครงการต้องกำหนดระยะเวลาที่แน่นอน โดยกำหนดเวลาเริ่มต้นและเวลาที่สิ้นสุดให้ชัดเจน
6. มีลักษณะเป็นงานที่เร่งด่วน โครงการต้องเป็นกิจกรรมที่จัดขึ้นเพื่อสนองนโยบายเร่งด่วนที่ต้องการจะพัฒนางานให้ก้าวหน้าอย่างรวดเร็ว ทันต่อเหตุการณ์ หรือเป็นงานใหม่
7. ต้องมีต้นทุนการผลิตต่ำ การดำเนินงานตามโครงการต้องมีการใช้ทรัพยากรหรืองบประมาณซึ่งโครงการจะมีประสิทธิภาพ ก็ต่อเมื่อมีการลงทุนน้อยแต่ได้รับประโยชน์สูงสุด
8. เป็นการริเริ่มหรือพัฒนางาน โครงการต้องเป็นความคิดริเริ่มที่แปลกใหม่เพื่อแก้ปัญหาและอุปสรรค และพัฒนางานให้เจริญก้าวหน้า
ลักษณะของโครงการที่ดี ต้องสามารถแก้ปัญหาของงานหรือธุรกิจนั้นได้ต้องมีรายละเอียด ได้แก่ วัตถุประสงค์ เป้าหมายที่ชัดเจน สามารถดำเนินการได้ มีระยะเวลาในการดำเนินงานที่แน่นอน สามารถติดตามประเมินผลได้
การเขียนโครงการมีขั้นตอนในการดำเนินงาน 3 ขั้นตอน ดังนี้
1. ขั้นตอนก่อนการเขียนโครงการ จะต้องค้นหาข้อมูลเพื่อประกอบการสร้างแนวคิด และทำรายละเอียดของโครงการ ซึ่งข้อมูลที่ดีต้องมีความทันสมัย มีความแม่นยำ มีความกระชับ มีความสมบูรณ์ในเนื้อหา
โครงสร้างของการเขียนโครงการ
การเขียนโครงการ จะต้องรู้ว่าโครงการประกอบด้วยหัวข้ออะไรบ้าง แต่ละหัวข้อมีหลักในการเขียนอย่างไร ซึ่งการเขียนโครงการต้องมีลักษณะที่เป็นรูปธรรม ผู้นำไปปฏิบัติสามารถเข้าใจได้ง่าย หัวข้อหลักของโครงการประกอบด้วย 13 หัวข้อ ดังนี้
(1) ชื่อโครงการ
(2) หลักการและเหตุผล
(3) วัตถุประสงค์
(4) เป้าหมาย
(5) วิธีดำเนินการ
(6) วงเงินงบประมาณทั้งโครงการ
(7) แผนการใช้จ่ายงบประมาณ
(8) ผู้รับผิดชอบโครงการ
(9) เครือข่าย
(10) โครงการที่เกี่ยวข้อง
(11) ผลลัพธ์
(12) ตัวชี้วัดผลสำเร็จของโครงการ
(13) ประเมินโครงการ
โดยหัวข้อหลักข้างต้น ก็คือการตอบคำถามต่อไปนี้นั่นเอง
(1) โครงการอะไร (ชื่อ โครงการ)
(2) ทำไมต้องทำโครงการนี้ (หลักการและเหตุผล)
(3) ทำเพื่ออะไร (วัตถุประสงค์)
(4) ทำในปริมาณเท่าไร (เป้าหมาย)
(5) ทำอย่างไร (วิธีดำเนินการ)
(6) ทำให้ใคร-ใครได้รับประโยชน์ (กลุ่มเป้าหมาย)
(7) ทำที่ไหน (พื้นที่ดำเนินการ)
(8) ทำเมื่อไร นานเท่าใด (ระยะเวลาดำเนินการ)
(9) ใช้ทรัพยากรเท่าไรและได้มาจากไหน (งบประมาณแหล่งที่มา)
(10) ใครทำ (ผู้รับผิดชอบโครงการ)
(11) ต้องทำกับใคร (เครือข่าย)
(12) เมื่อเสร็จสิ้นโครงการแล้วจะได้อะไร (ผลประโยชน์ ที่คาดว่าจะได้รับ)
(13) ทำได้บรรลุวัตถุประสงค์และเป้าหมายหรือไม่ (การประเมินผล)
2. เทคนิคการใช้คำและสำนวนในการเขียนโครงการ
การเขียนโครงการต้องใช้ภาษาเขียนที่กระชับ สื่อความหมายได้ชัดเจน โดยมีเทคนิคการใช้คำและสำนวนในการเขียนโครงการ ดังนี้
(1) ใช้ภาษาให้ถูกต้อง คือใช้ให้ถูกต้องตรงตามความหมาย และเขียนให้ถูกต้องตามอักษรวิธีทั้งตัวพยัญชนะ สระ วรรณยุกต์ ตัวสะกด และการันต์
(2) ใช้ภาษาให้กะทัดทัด คือใช้ถ้อยคำกระชับ รัดกุม ไม่เยิ่นเย้อ ยืดยาวประหยัดถ้อยคำ แต่ต้องได้ใจความสมบูรณ์
(3) ใช้ภาษาให้ชัดเจน คือใช้ถ้อยคำที่มีความหมายตรงไปตรงมา หรือตรงตามตัวทำให้ผู้รับสารเข้าใจทันที ไม่ใช้ถ้อยคำคลุมเครือหรือกำกวม
(4) ใช้ภาษาให้เหมาะสม คือใช้ภาษาให้เหมาะสมกับเนื้อความหรือเหมาะสมกับกาลเทศะ
(5) ใช้ภาษาให้สุภาพ คือใช้ภาษาเขียน
3. ขั้นตอนการตรวจสอบโครงการที่จัดทำ เพื่อความถูกต้องชัดเจน
ลักษณะโครงการที่ดี โครงการที่ดีมีลักษณะดังนี้
1. เป็นโครงการที่สามารถแก้ปัญหาของท้องถิ่นได้
2. มีรายละเอียด เนื้อหาสาระครบถ้วน ชัดเจน และจำเพาะเจาะจง โดยสามารถตอบคำถามต่อไปนี้ได้คือ
- โครงการอะไร = ชื่อโครงการ
- ทำไมจึงต้องริเริ่มโครงการ = หลักการและเหตุผล
- ทำเพื่ออะไร = วัตถุประสงค์
- ปริมาณที่จะทำเท่าไร = เป้าหมาย
- ทำอย่างไร = วิธีดำเนินการ
- จะทำเมื่อไร นานเท่าใด = ระยะเวลาดำเนินการ
- ใช้ทรัพยากรเท่าไรและได้มาจากไหน = งบประมาณ แหล่งที่มา
- ใครทำ = ผู้รับผิดชอบโครงการ
- ต้องประสานงานกับใคร = หน่วยงานที่ให้การสนับสนุน
- บรรลุวัตถุประสงค์หรือไม่ = การประเมินผล
- เมื่อเสร็จสิ้นโครงการแล้วจะได้อะไร = ผลประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
1. เป็นโครงการที่สามารถแก้ปัญหาของท้องถิ่นได้
2. มีรายละเอียด เนื้อหาสาระครบถ้วน ชัดเจน และจำเพาะเจาะจง โดยสามารถตอบคำถามต่อไปนี้ได้คือ
- โครงการอะไร = ชื่อโครงการ
- ทำไมจึงต้องริเริ่มโครงการ = หลักการและเหตุผล
- ทำเพื่ออะไร = วัตถุประสงค์
- ปริมาณที่จะทำเท่าไร = เป้าหมาย
- ทำอย่างไร = วิธีดำเนินการ
- จะทำเมื่อไร นานเท่าใด = ระยะเวลาดำเนินการ
- ใช้ทรัพยากรเท่าไรและได้มาจากไหน = งบประมาณ แหล่งที่มา
- ใครทำ = ผู้รับผิดชอบโครงการ
- ต้องประสานงานกับใคร = หน่วยงานที่ให้การสนับสนุน
- บรรลุวัตถุประสงค์หรือไม่ = การประเมินผล
- เมื่อเสร็จสิ้นโครงการแล้วจะได้อะไร = ผลประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
3. รายละเอียดของโครงการดังกล่าว ต้องมีความเกี่ยวเนื่องสัมพันธ์กัน เช่น วัตถุประสงค์ต้องสอดคล้องกับหลักการและเหตุผล วิธีดำเนินการต้องเป็นทางที่ทำให้บรรลุวัตถุประสงค์ได้ ฯลฯ เป็นต้น
4. โครงการที่ริเริ่มขึ้นมาต้องมีผลอย่างน้อยที่สุดอย่างใดอย่างหนึ่งในหัวข้อต่อไปนี้
- ตอบสนอง สนับสนุนงานอาชีพที่ต้องการดำเนินการ
4. โครงการที่ริเริ่มขึ้นมาต้องมีผลอย่างน้อยที่สุดอย่างใดอย่างหนึ่งในหัวข้อต่อไปนี้
- ตอบสนอง สนับสนุนงานอาชีพที่ต้องการดำเนินการ
5. รายละเอียดในโครงการมีพอที่จะเป็นแนวทางให้ผู้อื่นอ่านแล้วเข้าใจ และสามารถดำเนินการตามโครงการได้
6. เป็นโครงการที่ปฏิบัติได้และสามารถติดตามและประเมินผลได้
การตรวจสอบโครงการ เป็นขั้นตอนของการตรวจสอบความถูกต้องในการเขียนโครงการเป็นไปตามลักษณะและขั้นตอนการดำเนินงานและครบตามกระบวนการของการเขียนโครงการ
การตรวจสอบโครงการ มีวัตถุประสงค์เพื่อกำกับโครงการให้เป็นไปตามแผนที่วางไว้ทั้งในด้านผลงานด้านกำหนดเวลา ด้านการควบคุมค่าใช้จ่ายและการใช้จ่ายทรัพยากรของโครงการ
การบริหารความเสี่ยงกับการตัดสินใจ
การบริหารความเสี่ยงช่วยให้สามารถตัดสินใจได้ใน 3 ระดับ คือ :-
1. การตัดสินใจทางกลยุทธ์ทางธุรกิจ ว่ากำลังดำเนินธุรกิจได้ถูกต้องหรือไม่ จะดำเนินโครงการอะไร ผลตอบแทนการลงทุนพอเพียงหรือไม่ มีความเป็นไปได้ในการจำกัดการลดขนาดขององค์กรหรือไม่ กลยุทธ์ทางเลือกที่ดีที่สุดของโครงการคืออะไร
2. การตัดสินใจโครงการ ความเสี่ยงที่สำคัญที่สุดของโครงการคืออะไร การดำเนินโครงการจะประสบความสำเร็จตามงบประมาณและระยะเวลาที่กำหนดไว้หรือไม่จะตรวจสอบและจัดการความเสี่ยงอย่างต่อเนื่องได้อย่างไร
3. การตัดสินใจด้านโรงงานหรือกระบวนการ อันตรายจากการดำเนินการตามขั้นตอนคืออะไร จะจัดการปัญหาด้านสภาพแวดล้อม และความปลอดภัยในโรงงานอย่างไร เราจะแน่ใจได้อย่างไรว่าการกำหนดมาตรการด้านความปลอดภัยจะมีค่าใช้จ่ายต่ำสุด การบริหารโครงการจึงต้องมีกลยุทธ์การบริหารความเสี่ยงเพื่อตัดสินใจด้านธุรกิจ โรงงานและโครงการ ซึ่งจะต้องนำไปจัดทำแผนปฏิบัติการและแผนบริหารโครงการ
การตรวจสอบรายละเอียดโครงการ
1. ชื่อโครงงาน ควรตั้งชื่อโครงงานอาชีพให้สื่อความหมายได้ชัดเจน ครอบคลุมความหมายของกิจกรรมอาชีพที่ทำให้ชัดเจนว่าทำอะไร ไม่ควรตั้งชื่อโครงงานที่มีความหมายกว้างเกินไปตัวอย่างเช่น โครงงานปลูกมะละกอ โครงงานทำโคมไฟฟ้า
2. ชื่อผู้ดำเนินโครงงาน ระบุชื่อผู้ดำเนินโครงงานในกรณีที่เป็นงานกลุ่มต้องระบุหน้าที่ความรับผิดชอบของแต่ละคน และการลงทุนของแต่ละคนไว้ให้ชัดเจน ซึ่งทั้งนี้ควรพิจารณาความเหมาะสมในด้านความสามารถ โอกาสในการทำงานและกำลังทุนทรัพย์สิน ของแต่ละบุคคล
3. ชื่อที่ปรึกษาโครงการ
4. หลักการและเหตุผลหรือความสำคัญของโครงงาน ควรกล่าวถึงสภาพชุมชนและความต้องการของตลาดที่เกี่ยวข้องกับอาชีพตามที่ได้ศึกษามา และอธิบายว่าโครงงานนี้จะสนองความต้องการของชุมชนได้อย่างไร
5. วัตถุประสงค์ จะต้องกำหนดวัตถุประสงค์ให้ชัดเจนว่า โครงงานอาชีพนี้ ผู้เขียนจะทำอะไรโดยเขียนให้เห็นว่ากิจกรรมหรือพฤติกรรมที่จะดำเนินการมีอะไรบ้าง หากมีวัตถุประสงค์หลายประการก็ควรเขียนเป็นข้อ ๆ ตามลำดับความสำคัญ
6. เป้าหมาย กำหนดเป้าหมายของผลผลิตในช่วงเวลาให้ชัดเจนคือ อะไร มีปริมาณเท่าใดและคุณภาพเป็นอย่างไร
7. ระยะเวลา กำหนดระยะเวลาตั้งแต่เริ่มต้นจนสิ้นสุดการดำเนินโครงงาน
8. งบประมาณ จัดทำรายละเอียดรายจ่ายที่เกิดขึ้นในการดำเนินโครงงาน ตั้งแต่ขั้นตอนแรกจนถึงขั้นตอนสุดท้าย ซึ่งประกอบด้วยตัววัสดุ อุปกรณ์ เครื่องมือ เครื่องใช้ เป็นต้น
9. ขั้นตอนวิธีดำเนินงาน เขียนเป็นรายละเอียดขั้นตอนของการทำงาน ตั้งแต่เริ่มต้นจนสิ้นสุดโครงงานโดยเขียนเป็นแผนปฏิบัติงาน ซึ่งประกอบด้วยหัวข้อ กิจกรรม ระยะเวลา สถานศึกษา ทรัพยากร/ปัจจัยเป็นต้น รายละเอียดดังกล่าวจะทำให้ผู้ที่ปรึกษาหรือผู้ดำเนินงานติดตามกำกับงานได้อย่างมีระบบแก้ไขปัญหาได้ทันท่วงที
8. การติดตามและการประเมินผล เป็นวิธีการหรือเทคนิคในการดูแลและควบคุมการปฏิบัติงานให้บรรลุวัตถุประสงค์ ทั้งนี้ต้องบอกให้ชัดเจนว่าก่อนเริ่มทำโครงงาน ระหว่างทำโครงงานและหลังการทำโครงงาน จะมีการติดตามและประเมินผลอย่างไร
9. ผลที่คาดว่าจะได้รับ ให้ระบุผลที่จะเกิดขึ้นเมื่อเสร็จสิ้นโครงงาน เป็นผลที่ได้รับโดยตรงและผลพลอยได้หรือผลกระทบจากโครงงานเป็นผลในด้านดีที่คาดว่าจะได้รับจะต้องสอดคล้องกับจุดประสงค์และเป้าหมาย
การปรับปรุงโครงการ หมายถึง การปรับปรุงโครงการพัฒนาอาชีพที่ได้จัดทำไว้แล้วให้ได้โครงการที่เป็นไปได้มากที่สุด การกำกับติดตามเป็นกิจกรรมของผู้บริหาร เพื่อหาคำตอบและตอบคำถามและการใช้ทรัพยากรได้ครบตามวัตถุประสงค์ ตามแผนที่กำหนดไว้ หรือไม่
โครงงานพัฒนาอาชีพ หมายถึง กิจกรรม งานอาชีพที่ จะการดำเนินกิจการได้จัดทำโครงการ เพื่อบอกจัดทำข้อมูลอาชีพ ตามที่ตนเองมีความถนัด มีความพร้อม และสนใจ แล้วลงมือปฏิบัติให้บรรลุตามจุดมุ่งหมายที่กำหนดไว้
การปรับปรุงพัฒนาโครงการจะต้องพิจารณา ดังนี้
1. โครงการมีความยืดหยุ่น คือ สามารถปรับเปลี่ยนได้ตามสถานการณ์
2. โครงการมีความขัดเจน คือ ต้องระบุให้ชัดเจน ใคร ทำอะไร ที่ไหน เมื่อใด เพื่ออะไร และทำอย่างไร ใช้ภาษาง่าย ๆ
3. โครงการมีเหตุผล คือ ต้องกำหนดขึ้นอย่างมีหลักการและเหตุผล สามารถอธิบายได้
4. โครงการมีความสอดคล้องกับนโยบายขององค์กรหรือธุรกิจเพื่อให้การดำเนินงานเป็นไปในทิศทางเดียวกัน
5. โครงการมีความง่ายต่อการปฏิบัติ
6. โครงการประหยัดค่าใช้จ่าย
7. โครงการมีระยะเวลาที่แน่นอน
8. โครงการได้รับการยอมรับจากบุคคลที่เกี่ยวข้อง
การพัฒนาโครงการมี ประกอบด้วยขั้นตอน ดังนี้
1. ขั้นการกำหนดเป้าหมายและวัตถุประสงค์
2. ขั้นวิเคราะห์และประเมินสภาพแวดล้อม
3. ขั้นกำหนดแผน
4. ขั้นปฏิบัติตามโครงการ เป็นการนำมาใช้ในการดำเนินงานอย่างจริงจังและต่อเนื่อง ให้บรรลุตามบทบาทที่กำหนด
5. ขั้นควบคุมและประเมินตามโครงการ
ประโยชน์ของ โครงการเมื่อพัฒนาไปสู่แผนงาน มีดังนี้
1. ช่วยให้การทำงานเกิดประสิทธิภาพในการทำงาน คือ ทำงานสำเร็จตามเป้าหมาย หรือวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้
2. ช่วยให้การดำเนินงานเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ คือ ทำงานได้ผลสูงกว่าทรัพยากรที่ใช้ไป เช่น เงิน วัสดุอุปกรณ์ บุคลากร เป็นต้น
3. ช่วยประหยัดเวลาในการทำงานให้เสร็จตามเวลาที่กำหนด
4. ช่วยให้มีแนวทางการปฏิบัติงาน โดยมีแผนเป็นตัวชี้แนวทางในการทำงาน
5. ช่วยควบคุมการปฏิบัติงานให้บรรลุตามเป้าหมาย
6. ช่วยส่งเสริมการทำงานเป็นทีม
กิจกรรมท้ายบทเรื่องที่ 5 โครงการพัฒนาอาชีพให้มีความเข้มแข็ง
ให้นักศึกษาอธิบายคำกล่าว “พออยู่ พอกิน มีรายได้ มีเก็บออม” ตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
............................................................................................................................................………………. ...............................................................................................................................................................
...............................................................................................................................................................
...............................................................................................................................................................
............................................................................................................................................………………. ...............................................................................................................................................................
...............................................................................................................................................................
...............................................................................................................................................................
...............................................................................................................................................................
...............................................................................................................................................................
|
คำชี้แจง ก่อนที่นักศึกษาจะศึกษาเนื้อหารายวิชาพัฒนาอาชีพให้มีความเข้มแข็ง ให้นักศึกษาทำแบบทดสอบก่อนเรียน (จงเลือกกากบาท x ในข้อที่นักศึกษาเห็นว่าถูกที่สุดเพียงหนึ่งข้อ และเมื่อทำข้อสอบเสร็จแล้วให้ดูเฉลยหน้าหลังสุดของรายวิชานี้)
1. ความจำเป็นของการพัฒนาอาชีพคือข้อใด
ก. ต้องการสร้างอาชีพใหม่
ข. ทำให้อาชีพมีการพัฒนาขึ้น
ค. มีผลต่อการลงทุน การตลาด และการผลิต
ง. ผู้ประกอบการสามารถเลือกอาชีพได้อย่างอิสระ
2. การวิเคราะห์ศักยภาพเศรษฐกิจมีความจำเป็นเพราะเหตุใด
ก. เพราะช่วยให้ผู้ประกอบการทำธุรกิจได้ดีขึ้น
ข. เพราะช่วยให้ผู้ประกอบการรู้จักตนเองและคู่แข่งขัน
ค. วิเคราะห์หรือไม่วิเคราะห์ก็สามารถทำธุรกิจได้
ง. ไม่มีความจำเป็นในการวิเคราะห์การประกอบธุรกิจ
3. ตำแหน่งธุรกิจ หมายถึง
ก. การเริ่มต้นประกอบอาชีพ
ข. ช่วงเวลาในการประกอบอาชีพ
ค. ระยะสุดท้ายของการประกอบอาชีพ
ง. ช่วงใดช่วงหนึ่งของการประกอบอาชีพ
4. เส้นทางของเวลาหมายถึง
ก. การเริ่มต้นประกอบอาชีพ
ข. วัฎจักรของการประกอบอาชีพ
ค. การนับเวลาในการดำเนินงานด้านอาชีพ
ง. การเดินทางไปสู่จุดหมายในการประกอบอาชีพ
5. การกำหนดทิศทางและเป้าหมายการตลาดช่วยในการทำธุรกิจอย่างไร
ก. รู้จักกลุ่มลูกค้ามาก
ข. สินค้าจะได้รับความสนใจ
ค. ช่วยให้สามารถดำเนินธุรกิจได้คล่องตัวยิ่งขึ้น
ง. สามารถกำหนดเป้าหมายตลาด และแบ่งกลุ่มลูกค้าได้
6. การศึกษาตลาดของผู้ประกอบการต้องทำความเข้าใจเรื่องใดบ้าง
ก. ตลาดต้องการอะไร
ข. ผู้รับบริการคือใคร
ค. ลูกค้าต้องการอะไร
ง. กลุ่มเป้าหมายมีมากน้อยเพียงใด
7. มีข้อพิจารณาเพื่อการกำหนดกลยุทธ์สู่เป้าหมายการพัฒนาตลาดอย่างใดบ้าง
ก. ลงทุนสูงทำสินค้ามาก
ข. อยู่ที่การตัดสินใจของผู้ประกอบการ
ค. ต้องประเมินความต้องการของตลาดก่อนลงทุน
ง. ลงทุนต่ำที่สุด ทำสินค้าจำนวนน้อยแล้วค่อยเพิ่มขึ้น
8 วิธีการโดยทั่วไปที่ใช้ในส่งเสริมการตลาดส่วนมากจะใช้วิธีใด
ก. ทำการวิจัยตลาด
ข. ใช้พนักงานเดินตลาด
ค. การโฆษณาประชาสัมพันธ์
ง. สำรวจความต้องการของผู้บริโภค
9. ในการทำธุรกิจ สิ่งจำเป็นอย่างยิ่งที่สร้างความพึงพอใจให้กับลูกค้าคือคุณภาพ หมายถึงอะไร
ก. ลูกค้าคือพระเจ้า
ข. บริการที่เข้าใจผู้บริโภค
ค. มาตรฐานสินค้าที่ผู้ประกอบการกำหนด
ง. คุณภาพของสินค้าและบริการที่ตอบสนองลูกค้า
10. ในการทำธุรกิจด้านบริการ ผู้รับบริการจะให้ความสำคัญในเรื่องใดมากที่สุด
ก. พนักงานบริการ
ข. สถานที่ให้บริการ
ค. ราคาค่าใช้บริการ
ง. กระบวนการบริการ
11. คำว่า “ทุน” ในการประกอบอาชีพหรือดำเนินธุรกิจ หมายถึงอะไร
ก. เงินสด
ข. เงินกู้
ค. ที่ดิน
ง. เงินลงทุนในการดำเนินธุรกิจ
12. ปัจจัยที่ส่งผลให้การดำเนินธุรกิจประสบผลสำเร็จประกอบด้วยอะไรบ้าง
ก. ทราบแหล่งที่อยู่ของลูกค้า
ข. ทราบความต้องการของลูกค้า
ค. การเตรียมพร้อมในการดำเนินงาน
ง. การกำหนดกลุ่มลูกค้าเป้าหมายชัดเจน
13. การกำหนดกลยุทธ์ในการพัฒนาอาชีพผลิตภัณฑ์ใหม่ มีข้อควรพิจารณาอย่างไร
ก. คำนึงถึงปริมาณเพื่อลูกค้าพึงพอใจ
ข. รูปแบบของผลิตภัณฑ์ต้องเป็นที่สนใจ
ค. ผลิตภัณฑ์สามารถสู่คู่แข่งขันในตลาดได้
ง. ผลิตภัณฑ์ใหม่ออกมาต้องตอบสนองลูกค้า
14. ทำไมถึงต้องมีการทำบัญชีครัวเรือนและบัญชีอาชีพ
ก. เพื่อเป็นระบบ
ข. เพื่อทราบรายรับ
ค. เพื่อทราบรายจ่าย
ง. เพื่อให้ทราบงบดุล เช่น กำไร ขาดทุน
15. ความสำคัญของโครงการพัฒนาอาชีพ คือ
ก. ช่วยให้ประหยัดทุนในการประกอบอาชีพ
ข. กำหนดทิศทางของการดำเนินงานอย่างชัดเจน
ค. ทำให้การประกอบอาชีพเป็นไปตามจุดมุ่งหมาย
ง. ช่วยให้ผู้ประกอบการ สามารถเลือกกิจกรรมการพัฒนาอาชีพได้อย่างเหมาะสม
16. การพัฒนาอาชีพ หมายถึงอะไร
ก. การจัดการด้านการผลิตอย่างต่อเนื่อง
ข. การใช้แรงงานอย่างคุ้มค่า
ค. การใช้เทคนิคการดำเนินการด้วยวิธีการต่างๆ
ง. การพัฒนาการอาชีพด้านต่างๆ ให้ก้าวหน้าและตรงใจความต้องการ
17. ผู้ประกอบการจะพัฒนาอาชีพให้มีความเข้มแข็งได้ต้องทราบในข้อใด
ก. อายุและเพศของลูกค้า
ข. ฐานะและการศึกษาของลูกค้า
ค. ความต้องการของลูกค้าและพฤติกรรมในการตัดสินใจของลูกค้า
ง. สถานการณ์ของคู่แข่ง
18. ผู้ประกอบการจะพัฒนาอาชีพให้มีความเข้มแข็งได้ต้องทราบในข้อใด
ก. อายุและเพศของลูกค้า
ข. การวิเคราะห์ตลาด
ค. การกำหนดขนาดตลาด
ง. การแบ่งส่วนการตลาด
19. ข้อมูลที่ได้จากการศึกษาพฤติกรรมของผู้บริโภคนำไปใช้ประโยชน์ในข้อใด
ก. สำรวจตลาด
ข. แบ่งส่วนการตลาด
ค. การกำหนดขนาดตลาด
ง. วางแผนทางการตลาด
20. การพัฒนาอาชีพให้มีความเข้มแข็งมีประโยชน์อย่างไร
ก. ลดต้นทุนการขนส่ง
ข. ทำให้ครอบครัวมีความอบอุ่น
ค. มีการประชาสัมพันธ์อย่างต่อเนื่อง
ง. ขยายตลาดกว้างขวางขึ้น ทำให้พัฒนาธุรกิจชุมชนเจริญเติบโต
ของคำตอบพร้อมเฉลยด้วยค้ะ
ตอบลบของคำตอบพร้อมเฉลยด้วยค้ะ
ตอบลบขอเฉลยด้วยค่ะ
ลบเฉลยคำตอบที่ถูกต้อง
ลบ